วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เรื่องบล็อก

ความรู้เรื่อง บล็อก



มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามผมบ่อย ๆ เวลาไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ว่า “Blog คืออะไร” กันดีกว่าครับ 
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่นWordPressMovable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
                                           ที่มา : http://keng.com/2005/09/30/what-is-blog/
ประโยชน์ของบล็อก
ผลการศึกษาจากเว็บไซต์ GotoKnow.org ซึ่งเปิดให้บริการบล็อกเพื่อเขียนบันทึก และมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มคนทำงาน
จากจำนวนสมาชิกที่มากมายทำให้พบว่าบล็อกแห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ซึ่งเปิดให้บริการเพื่อเขียนบล็อกเท่านั้น แต่ยังเป็นคลังซึ่งใช้เก็บประโยชน์ต่างๆ มากมายอีกด้วย
         
 คลังประโยชน์ของบล็อก
  1. คลังความรู้ มีความรู้มากมายให้ค้นหา ให้อ่านตามความสนใจ
  2. คลังมิตรภาพ เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์จนกลายเป็นมิตรภาพดีๆ
  3. คลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และต่อยอดความรู้ออกไป
  4. คลังแห่งความสุข เป็นที่ระบายความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และเพิ่มความสุขในชีวิต
  5. คลังข้อมูล ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกที่สำคัญ ช่วยให้เจ้าของข้อมูลสามารถดึงดูดข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
  6. คลังเพื่อการฝึกฝน เป็นแหล่งฝึกฝนระบบการคิด ทักษะการเขียน และความสามารถด้านถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆ และยังเป็นแหล่งฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้อย่างดีอีกด้วย
  7. คลัง KM ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีผู้เชียวชาญด้านการจัดการความรู้ (KM) มากมาย อีกทั้งสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM) ได้ง่ายเพียงแค่คลิก
  8. คลังประชาสัมพันธ์และกิจกรรมงานบุญ เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมมากมาย
  9. คลังแห่งองค์กรต่างๆ บางองค์กรเลือกเว็บไซต์ GOtoKnow.org เป็นเครื่องมือเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
  10. คลังเพื่อนช่วยเพื่อน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งทางออนไลน์ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พบว่าเกิดกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ช่วยสอนวิธีการใช้งานบล็อก
  11. คลังความรู้ฝังลึก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ที่มี่เป็นคลังความรู้ มีสารประโยชน์ต่างๆ มากมายให้เลือกอ่าน และที่สำคัญความรู้ส่วนใหญ่นั้นเป็นความรู้สึกฝังลึกที่ซ่อนอยู่ ในตัวคนทุกคนนั่นเอง ที่นี่จึงกลายเป๋นคลังความรู้ฝังลึกที่ใหญ่มาก และถ้าหากสามารถสกัดความรู้ฝังลึกเหล่านี้ให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้งได้ ที่มี่กลายเป็นคลังแก่นความรู้ได้ต่อไป
          ทั้ง 11 ข้อ เป็นปะโยชน์ที่เกิดจากการสกัดข้อมูลออกมาจากบันทึกจำนวนมาก และแน่นอนว่าประโยชน์ของบล็อกไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลากหลายข้อ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าสามารถนำบล็อกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดนั่นเอง
                                             ที่มา : http://portal.in.th/blog-km/pages/13338/


KM กับ บล็อก

  หลายปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของการจัดการความรู้ (KM) ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการจัดทำ KM รวมทั้งเครื่องมืออื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ เช่น เรื่องเล่าเร้าพลัง สุนทรียสนทนาและอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำองค์กรก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
           นอกจากนี้หลายองค์กรจะได้รับคำแนะนำให้ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือเพื่อนำองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างที่กล่าวไว้ แต่ก็มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า จริงๆ แล้วบล็อกสามารถนำไปจัดการความรู้ได้จริงหรือไม่ บล็อกช่วยพัฒนางาน พัฒนาองค์กรได้อย่างไร และที่ผ่านมายังไม่เคยมีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างชัดเจนสักครั้ง
           บทนี้จะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ หรื KM กับบล็อก ว่าทั้งสองอย่างนั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร ก่อนเปิดอ่านบทต่อไปขอเครียมความพร้อมอีกสักนิดด้วยการให้ผู้อ่านจินตนาการว่า
  • เว็บไซต์ GotoKnow.org เปรียบได้กับองค์กร หรือ หน่วยงานที่ผู้อ่านได้ทำงานอยู่ร่วมกัน
  • บล็อกเกอร์ทุกๆ ท่าน ในเว็บไซต์แห่งนี้ เปรียบได้กับคนทำงานในหน่วยงานเดียวกัน เป็นเพื่อร่วมงานที่ต้องพบเจอกันทุกวัน อาจจะเคยพูดคุยกันเป็นประจำ ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ มากมาย หรืออาจจะไม่พูดคุยกันเลย หรืออาจจะเพียงแค่ทักทายกันบ้างเป็นบางครั้ง หรืออาจจะเป็นเพียงแค่เห็นหน้า หรือบางคนอาจจะไม่เคยรู้จักกันเลย
  • หากผู้อ่านท่านใดเคยทำกิจกรรมสุนทรียสนทนา กิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง หรือกิจกรรม AAR มาบ้างแล้ว ให้จินตนาการต่อไปว่วันนี้ท่านได้เฟลี่ยนกิจกรรมเหล่านั้นจากการทำในลักษณะ face to face ที่ได้เจอตัวจริงของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มาเป็นการทำกิจกรรมเดียวกันแต่ทำผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผ่านเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่าบล็อก ผ่านการถ่ายทอดเป็นหนังสือแทนคำพูด
          เมื่อจินตนาการมาถึงตรงนี้ขอให้ผู้อ่านจดจำจิตนาการเหล่านี้ไว้ เพื่อนำไปใช้ยังการอ่านบทต่อไป แต่สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่เคยทำกิจกรรมที่กล่าวมาเลยก็ไม่เป็นไร เพราะสามารถเริ่มเรียนรู้และจินตนาการตามไปพร้อมๆ กันได้
          เมื่อพร้อมแล้วอย่ารอช้าขอเชิญก้าวสู่โลกของการจัดการความรู้ผ่านบล็อกในบทต่อไปของหนังสือ บล็อก:เครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้

                                          ที่มา : http://portal.in.th/blog-km/pages/keyword/blog/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น